×

บล๊อก  

ผ้าซับในสำหรับผ้าทรงสะพัก โดย นางสาวอริสรา อำนวยชัยเกิดลาภ, เจ้าหน้าที่อนุรักษ์

ผ้าซับในสำหรับผ้าทรงสะพัก

การย้อมสีผ้าสำหรับทำซับในผ้าทรงสะพักนั้น เป็นการทดลองย้อมสีจากธรรมชาติลงบนผ้าฝ้าย ผ้าไหมและผ้าโพลีเอสเตอร์ ให้ได้สีที่ใกล้เคียงกับสีผ้าทรงสะพักมากที่สุดเพื่อนำไปใช้ในการซ่อมสงวนผ้าทรงสะพักที่มีสภาพชำรุด จากการทดลองย้อมสีผ้าไปแล้วบางส่วนนั้น ยังไม่ได้สีที่ตรงกับความต้องการ จึงต้องทำการศึกษาเพิ่มเติมเรื่องสีธรรมชาติ รวมไปถึงสารช่วยให้ติดสีและสารช่วยย้อม (Mordant) อื่นๆ อีก ซึ่งสีธรรมชาติที่นำมาทดลองในครั้งนี้ ได้แก่ เนื้อไม้ฝาง ที่ให้สีโทนแดง ชมพู และใช้น้ำเต้าหู้เป็นสารช่วยย้อม (Mordant) โดยมีรายละเอียดการทดลองดังนี้

วัสดุและสารเคมี

1. ผ้าฝ้าย, ผ้าไหม, ผ้าโพลีเอสเตอร์ น้ำหนัก 1กรัม/ตารางเมตร


ผ้าฝ้าย 3 ชนิด ที่มีเนื้อผ้าแตกต่างกัน


ผ้าไหม


ผ้าโพลีเอสเตอร์

2. ฝาง จากร้านเจ้ากรมเป๋อ


รูปภาพจาก https://www.popayaherb.com/product/

3. น้ำเต้าหู้ จากตลาดท่าน้ำนนทบุรี


รูปภาพจากเว็บไซต์ http://www.medicthai.com

4. สบู่เหลว ตราเซฟแพ็ค บริษัทอุตสาหกรรมมิตรมงคล จำกัด


รูปจากเว็บไซต์ http://hangtieudungnhapkhau.vn/nuoc-rua-tay-savepak-300ml.html

อุปกรณ์และเครื่องจักร

1. เครื่องอบผ้า Drying Oven ของ Siemens
2. เตาไฟฟ้า
3. บีกเกอร์สแตนเลส 1000 ml
4. ที่คีบ
5.ไม้พาย
6. เครื่องชั่ง
7. แท่งแก้ว
8. กระบอกตวง
9. หม้อสแตนเลส

การเตรียมผ้า

เส้นใยที่นำมาย้อมสีธรรมชาติได้ดีที่สุดคือเส้นใยธรรมชาติ ทั้งเส้นใยจากพืช เส้นใยขนสัตว์และเส้นใยกึ่งสังเคราะห์ เช่น เส้นใยเรยอน ที่นิยมนำมาใช้ทอผ้าและย้อมติดสีธรรมชาติได้ดี การย้อมสีธรรมชาติให้ได้ผลลัพธ์ดีที่สุดจะต้องมีการทำความสะอาดเส้นใยก่อน เนื่องจากผ้าหรือเส้นด้ายในปัจจุบันผลิตในระบบอุตสาหกรรมจะมีสารเคมีต่าง ๆ เคลือบอยู่ทำให้การติดสีไม่ดี ซึ่งการทำความสะอาดจะทำให้น้ำสีซึมเข้าไปติดได้ง่ายและมากที่สุด ดังนั้นจึงต้องทำความสะอาดผ้าหรือเส้นด้ายที่จะนำมาย้อมสีก่อนเสมอ

วิธีการเตรียมผ้า

1. เทน้ำใส่หม้อ ต้มให้เดือดจากนั้นใส่น้ำสบู่ลงไป 2 กรัมต่อน้ำหนึ่งลิตร คนให้ละลาย
2. นำผ้าที่เตรียมไว้ใส่ลงในหม้อต้ม แต่ระวังอย่าใส่ผ้าแน่นเกินไปและน้ำต้องท่วมผ้า ควรพลิกผ้าเพื่อให้ผ้าสะอาดอย่างทั่วถึง ต้มทิ้งไว้ประมาณ 45 นาที – 1 ชั่วโมง
3. เมื่อครบเวลาที่กำหนด นำผ้าขึ้นและทำความสะอาดผ้าจนผ้าหายลื่น จากนั้นนำผ้าไปตากไว้ให้แห้งสนิท จากนั้นเก็บในที่ที่มีอากาศถ่ายเท ไม่อับชื้น

การสกัดสีจากธรรมชาติ

การสกัดสีจากส่วนต่าง ๆ ของพืชสามารถนำมาย้อมได้ทั้งแบบย้อมร้อนและย้อมเย็น การสกัดสีแบบร้อนด้วยวิธีการต้ม ปริมาณความเข้มข้นของสีจะขึ้นอยู่กับอัตราส่วนของการสกัดสี เวลาในการย้อมของวัสดุนั้น ๆ ควรคำนึงถึงการเลือกวิธีการย้อมให้เหมาะสมกับลักษณะของวัตถุที่ย้อม ชนิดของพืช ที่ให้สี เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะงาน ระยะเวลา


การเตรียมผ้าและการทำความสะอาดผ้าหลังต้มเสร็จ

วิธีการการสกัดสี

1. นำฝางแช่น้ำสะอาด เป็นเวลา 15-30 นาที จากนั้นนำมาต้มที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที โดยต้องให้น้ำท่วมวัสดุให้สี
2. เคี่ยวจนได้สีที่ต้องการ จากนั้นกรองเศษฝางออกให้เหลือแต่น้ำสี นำน้ำสีที่สกัดได้ใส่ภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด
*กากจากแก่นไม้บางชนิดสามารถเก็บไว้สกัดได้อีกจนกว่าสีจะหมด (ความเข้มของสีจะอ่อนลงตามจำนวนครั้งของกานสกัด) เช่น แก่นฝาง


ภาพ น้ำสีที่สกัดได้จากฝาง

การเตรียมสารช่วยย้อมและการย้อมสีธรรมชาติ

สารช่วยย้อมหรือสารกระตุ้นสี (Mordant) มีทั้งสารเคมีและสารธรรมชาติ พืชแต่ละชนิดที่นำมาย้อมใช้เส้นใยธรรมชาติมีการติดสีและคงทนต่อการขัดถูหรือแสงไม่เท่ากันขึ้น จึงมีการใช้สารประกอบต่างๆ มาเป็นตัวช่วยในการทำให้เส้นใยดูดซับสีให้สีเกาะเส้นใยได้แน่นขึ้น มีความทนทานต่อแสง และการขัดถูเพิ่มขึ้น สารช่วยย้อมเคมี ได้แก่ สารส้ม จุนสี เฟอรัสซัลเฟส เป็นสารเคมีที่เป็นโลหะ ที่นิยมใช้กัน ส่วนสารช่วยย้อมแบบธรรมชาติ จะอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของพืช โดยเฉพาะพืชที่ให้รสฝาดและขม เช่น ลูกหมาก เปลือกทับทิม เป็นต้น

วิธีเตรียมสารช่วยย้อมและการย้อมสีธรรมชาติ

1. เตรียมน้ำเต้าหู้ที่ไม่ใส่น้ำตาลไว้อัตราส่วน 3 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 100 มิลลิลิตร ใส่เตรียมไว้ในบีกเกอร์
2. ทำการย้อมสีฝางบนผ้าหนัก 1 กรัมโดยนำฝาง 25, 30, 35,40,45,50,100 มิลลิลิตร ใส่ลงในน้ำ 100 มิลลิลิตร แล้วใส่ผ้าจากนั้นทำการย้อมที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เวลา 45 นาที ครบกำหนดนำผ้าออกแต่ยังไม่ต้องทำการล้างผ้า
3. การทำสารช่วยหลังการย้อมโดยแช่ผ้าที่ย้อมสีจากฝางลงในน้ำเต้าหู้นาน 15 นาที ล้างออกด้วยน้ำสะอาด ต้มในน้ำสบู่เทียม 2 กรัมต่อลิตร ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส ล้างน้ำสะอาดและอบให้แห้ง



รูปภาพ ขณะย้อมสีผ้าด้วยสีสกัดจากฝาง

ตารางแสดงสีธรรมชาติที่ย้อมได้

ตารางที่1 ใช้ปริมาณน้ำฝาง 25 มิลลิลิตรต่อน้ำสะอาด 100 มิลลิลิตร ย้อมที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เวลา 45 นาที หลังการย้อมโดยแช่ผ้าที่ลงในน้ำเต้าหู้ 15 นาที และล้างออกด้วยน้ำสะอาด

ตารางที่2 ใช้ปริมาณน้ำฝาง 30 มิลลิลิตรต่อน้ำสะอาด 100 มิลลิลิตร ย้อมที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เวลา 45 นาที หลังการย้อมโดยแช่ผ้าที่ลงในน้ำเต้าหู้ 15 นาที และล้างออกด้วยน้ำสะอาด

ตารางที่3 ใช้ปริมาณน้ำฝาง 35 มิลลิลิตรต่อน้ำสะอาด 100 มิลลิลิตร ย้อมที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เวลา 45 นาที หลังการย้อมโดยแช่ผ้าที่ลงในน้ำเต้าหู้ 15 นาที และล้างออกด้วยน้ำสะอาด

ตารางที่4 ใช้ปริมาณน้ำฝาง 40 มิลลิลิตรต่อน้ำสะอาด 100 มิลลิลิตร ย้อมที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เวลา 45 นาที หลังการย้อมโดยแช่ผ้าที่ลงในน้ำเต้าหู้ 15 นาที และล้างออกด้วยน้ำสะอาด

ตารางที5 ใช้ปริมาณน้ำฝาง 45 มิลลิลิตรต่อน้ำสะอาด 100 มิลลิลิตร ย้อมที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เวลา 45 นาที หลังการย้อมโดยแช่ผ้าที่ลงในน้ำเต้าหู้ 15 นาที และล้างออกด้วยน้ำสะอาด

ตารางที6 ใช้ปริมาณน้ำฝาง 50 มิลลิลิตรต่อน้ำสะอาด 100 มิลลิลิตร ย้อมที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เวลา 45 นาที หลังการย้อมโดยแช่ผ้าที่ลงในน้ำเต้าหู้ 15 นาที และล้างออกด้วยน้ำสะอาด

ตารางที7 ใช้ปริมาณน้ำฝาง 100 มิลลิลิตรต่อน้ำสะอาด 100 มิลลิลิตร ย้อมที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เวลา 45 นาที หลังการย้อมโดยแช่ผ้าที่ลงในน้ำเต้าหู้ 15 นาที และล้างออกด้วยน้ำสะอาด

ตารางที8 ใช้ปริมาณน้ำฝาง 100 มิลลิลิตร ย้อมที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เวลา 45 นาที หลังการย้อมโดยแช่ผ้าที่ลงในน้ำเต้าหู้ 15 นาที และล้างออกด้วยน้ำสะอาด